ปัญหาเด็กทานผักไม่เพียงพอ

รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ในส่วนของพฤติกรรมการบริโภค เรื่องการบริโภคผัก ผลไม้ พบว่าการกินผัก ผลไม้ ในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถช่วยชะลอการเกิดโรคได้ แต่พบว่าประชากรทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนายังบริโภคผักผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์ในการสำรวจ โดยได้สำรวจประชากรอายุ 2 ปีขึ้นไป ใน 4 ภาค รวมทั้ง กทม. โดยมาตราส่วนที่เป็นปริมาณแนะนำคือ ผัก 1 ส่วนมาตรฐานเท่ากับผักปรุงสุก 1 ทัพพี หรือผักสด 2 ทัพพี ส่วนผลไม้ 1 ส่วนมาตรฐานเท่ากับ มะละกอ แตงโม หรือสับปะรด 6-8 คำ หรือกล้วยน้ำว้าผลเล็ก หรือกล้วยหอมผลกลาง ครึ่งผล หรือส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ หรือ 2 ผลกลาง หรือ เงาะ 4 ผล

รศ.นพ.วิชัยกล่าวว่า ผลการสำรวจการบริโภคผักพบว่าเด็กอายุ 2-14 ปี บริโภคผักเฉลี่ยวันละ 0.7 ส่วน โดยเด็กอายุ 2-5 ปี ทั้งชายและหญิงบริโภคผักน้อยกว่าเด็กอายุ 6-14 ปีเล็กน้อยและไม่พบความแตกต่างระหว่างเด็กในและนอกเขตเทศบาล แต่พบว่าเด็กในภาคใต้บริโภคผักมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ และ กทม.ส่วนเด็กภาคอีสานบริโภคผักน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความเพียงพอในการบริโภคพบว่าเด็ก 6-14 ปี ที่บริโภคผักเพียงพอตามข้อแนะนำต่อวัน มีเพียงร้อยละ 5 เมื่อสำรวจปริมาณการบริโภคผลไม้ พบว่าเด็กอายุ 2-14 ปี บริโภคผลไม้โดยเฉลี่ยต่อวัน 1.3 ส่วน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการบริโภคต่อวัน พบว่าเด็ก 1 ใน 2 บริโภคผลไม้ปริมาณน้อยกว่า 1 ส่วนต่อวัน

“เด็กในภาคใต้บริโภคผลไม้เพียงพอมากที่สุดรองลงมาเป็นภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม สำหรับสาเหตุการบริโภคของแต่ละภาค ไม่ได้ระบุไว้ในรายงาน ซึ่งเชื่อว่าคงต้องมีการสำรวจต่อไปเนื่องจากการบริโภคผักผลไม้ให้พอเพียง ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุใยอาหาร และพฤกษาเคมี หลากหลายชนิดและมีงานวิจัยหลายชนิดยืนยันถึงประโยชน์ของผักผลไม้ว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย” รศ.นพ.วิชัยกล่าว

ทางแก้คือผักเม็ด Bio Veggie สำหรับทางออกผู้ไม่ชอบทานผัก ผักอัดเม็ดมีไฟเบอร์ในผักเป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องทานผักเป็นประจำก็มีธาตุอาหารเสริมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว